DHL

“GoTrade opens door to global market for Thai SMEs” – a collaboration between DITP and DHL Express to create cross-border competitive advantages

“GoTrade เปิดประตูเอสเอ็มอีไทยสู่ตลาดโลก” สร้างแต้มต่อการแข่งขันในการส่งออก ด้วยความร่วมมือระหว่าง DITP และ DHL Express

DHL Express Thailand and the Department of International Trade Promotion (DITP) organized a webinar on the topic “GoTrade opens door to global market for Thai SMEs” on May 26, revealing insights to Thai SMEs on emerging export markets, rising star products, challenges and opportunities in export, export trends, changing consumer behaviors, and tips for exporters. Highlighted points are as follows:

GoTrade opens door to global market for Thai SMEs

Keep an eye on global demand and supply, opportunities for Thai exporters

As Thais prepare to live with COVID-19, their lifestyles and consumption behaviors have also shifted. According to the international trade and consumption trends compiled by DITP, today’s consumers focus on healthcare, happy living and sustainability. This provides an opportunity for businesses to leverage these trends, thereby enabling the country’s economy to grow sustainably and creating economic value. In the first quarter of this year (Jan-Mar), Thai exports totaled 2,401,444 million baht, up 14.9%.[1]

Innovations for health and future food – future of Thai exports

Today’s consumers are more attentive to their health and upgrading their lifestyle. As a result, future food products have flourished significantly. These products include organic, functional, medical and innovative foods such as plant-based items – a market that is estimated to be worth 5.7 trillion baht in 2027, with the US being the largest market, followed by the UK.

  • Nearly half of US residents want to reduce their meat consumption. Leading plant-based food shipments in 2020 were said to to exceed USD 1 billion or 33 billion baht.
  • During 2019 – 2021, plant-based food consumption grew by 49% in 11 European countries with total sales of 3.6 billion euros (approximately 139 billion baht). Plant-based milk products registered the highest sales, followed by plant-based meat. The largest markets are the UK and Germany. [2]
  • In the health product category, the Chinese spend 10% of their income on nutritional supplements, while nine in 10 British people need food and beverage products that can help boost their immunity.
  • Thailand’s insect food is another popular product desired by foreigners. In the US, the market value is USD 15.5 million (465 million baht) in 2020 and is likely to grow by more than 40% annually.
  • During the past year, the economy of sleep has emerged in China, aiming to solve people’s sleeping problems. Sleep-related products and services saw significant growth among young Chinese consumers, especially innovative sleep-promoting products, which are projected to reach 5 trillion baht in 2030.[3]

Future food will be the future of Thai exports as it will generate considerable income for the country, extending from selling raw materials alone. Thailand’s future food products exported to the global market in 2021 totaled 93,602.17 million baht, up 4.86%. The major markets include the US, China, Cambodia, Myanmar and the Netherlands. The products that are tending to expand significantly are functional food, medical food and alternative proteins. In 2022, this product group is expected to grow by 5% as consumer demand in the global market has continuously increased.

Home improvement products continue to grow strongly

Consumers have been spending more on products for household activities due to quarantine during the pandemic. This is not just a trend nor it is temporary; it has become an emerging lifestyle as people tend to focus on their personal space or place. They spend more time renovating their homes and creating a hybrid work environment in their residence. And if any brands show their commitment to environmental protection, this will contribute to their sales because consumers want to take part in conserving the environment through the brands they use.

Cross-border delivery service still influences purchase decisions

Shipping quality is another factor for building trust between customers and brands, especially for goods that are shipped across borders. In addition to having international express delivery partners to advise on the customs regulations in each country, entrepreneurs should avoid four mistakes that cause export/import delays and obstacles:

  • Shipping counterfeit, pirated or copied items: These items are illegal in every country including Thailand, which has announced the prohibition of the export and import of pirated goods.
  • Under-declaring the value of goods: Valuing goods as lower than the actual transactional value will cause a delay in transportation. If this is an import of goods that are subject to duty and tax, it will also be considered a customs offense for tax evasion.
  • Incomplete or inaccurate goods description: Filling in information that does not match the actual product, for example, inputting the product details as ‘Gift’ instead of specifying the accurate description prolongs the investigation process and causes international shipping delays.
  • Misdeclaring the names of the true shippers (consignor) or receiver (consignee): Specifying the full name as per ID card or passport as well as address or company name corresponding to the document certified in that country is a legal requirement in compliance with regulations and practices for safety and customs declaration.

four mistakes that cause export/import delays

GoTrade: A powerful lever for sustained economic growth

Helping SMEs in developing countries access global markets is a proven way of DHL to connect people and improve lives. The GoTrade initiative draws on the Group’s expertise in trade facilitation to help SMEs gain access to the global market. Common challenges SMEs face include inefficient import/export processes, lengthy paperwork or simply businesses wanting access global markets. GoTrade is a powerful lever, as it supports DHL customers from the SME sector to understand how to bypass real bottlenecks, and get their goods through customs much faster and more efficiently. DHL works together with government agencies to make these necessary changes and help cultivate an environment, where SMEs can thrive and cross-border trade can grow.

Mr. Chanthapat Panjamanond, Director of Office of Digital Commerce Market, DITP says, “Overall, Thai exports in 2022 are still expanding well with 12 months of continuous growth until March[4]. Some Thai export products grew their market share in primary markets such as China, the USA and Asean countries while emerging markets like Africa, the Middle East and South America are potential markets for Thai SMEs to aim to. Factors that support Thai exports include the expansion of the manufacturing sector, bulk import of products influenced by the Russia-Ukraine conflicts, as well as promotion efforts by the Ministry of Commerce. Having a company with a global network and trade expertise like DHL Express is very valuable to us, helping us ensure our projects remain pragmatic and results-orientated. SMEs will be able to tap into the growth potential of cross-border trade without any logistics bottlenecks and get their goods flowing faster and more effectively.”

Herbert Vongpusanachai, Managing Director for Thailand and Head of Indochina, DHL Express, says, “Many countries focus on cross-border e-commerce to accelerate economic recovery. In world trade, infrastructure and logistics play a crucial role in reducing international trade bottlenecks. Cross-border trade creates prosperity and improves lives but there are still major barriers in many regions, and that’s why we started GoTrade. Our collaboration with DITP aims to enable SMEs to sell their goods internationally via e-commerce through our strong network to achieve sustainable and inclusive economic growth. GoTrade is also designed to help businesses navigate customs processing, increase export and import volumes and reduce barriers to cross-border trade.”

Parichart Pramukkul, Vice President, Commercial, DHL Express Thailand, says, “Currently, there are opportunities for Thai SMEs to go global under favorable circumstances for exports, such as vaccination against COVID-19 in many countries, easing trade restrictions, increasing investment in logistics business to expand cargo capacity, and more trade facilitation. However, administrative, technical, and regulatory barriers can hamper SMEs from expanding overseas. GoTrade underlines our efforts to mitigate these bottlenecks by leveraging our industry expertise and providing them with practical knowledge and resources to help them overcome these challenges.”

Read the article at https://dhltoyou.com/en/blog/detail/124/DITP-DHL-Express-GoTrade-webinar

e 12th consecutive month, 25 Mar 2022

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ร่วมกับดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทย จัดสัมมนาหัวข้อ “GoTrade เปิดประตู  เอสเอมอีไทยสู่ตลาดโลก” เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ที่ผ่านมา เผยอินไซต์ด้านการส่งออก สินค้าที่ได้รับความนิยม ความท้าทายและโอกาสในการทำตลาดส่งออก เทรนด์การส่งออก พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป และข้อควรรู้เกี่ยวกับการส่งออกสินค้าแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในไทย โดยมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

GoTrade เปิดประตูเอสเอ็มอีไทยสู่ตลาดโลก

จับตาอุปสงค์-อุปทานโลก สู่โอกาสของตลาดส่งออกไทย

ขณะที่คนไทยเตรียมตัวใช้ชีวิตร่วมกับโควิด-19 ไลฟ์สไตล์และพฤติกรรมการบริโภคก็เปลี่ยนไปเช่นกัน จากข้อมูลการค้าระหว่างประเทศและเทรนด์การอุปโภค-บริโภครวบรวมโดย DITP ปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ การใช้ชีวิตอยู่บนรากฐานของความสุข และความยั่งยืน จนกลายเป็นโอกาสและความท้าทายของธุรกิจที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้อุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยการส่งออกช่วงไตรมาสที่ 1 ปีนี้ (ม.ค.-มี.ค.) พบว่าไทยส่งออกรวมมูลค่า 2,401,444 ล้านบาท ขยายตัว 14.9% [1]

นวัตกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ และอาหารแห่งอนาคต (Future Food) – อนาคตส่งออกของประเทศไทย

ปัจจุบันผู้บริโภคตื่นตัวกับการดูแลสุขภาพ และยกระดับการใช้ชีวิตมากขึ้น ส่งผลให้กลุ่มสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่มแห่งอนาคตเฟื่องฟู ซึ่งจะครอบคลุมตั้งแต่ออร์แกนิกฟู้ด ฟังก์ชันฟู้ด อาหารทางการแพทย์ และอาหารนวัตกรรมใหม่ รวมถึงอาหารประเภทอาหารจากพืชหรือ Plant-based ที่มีการคาดการณ์ว่าทั่วโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 5.7 ล้านล้านบาท ในปี พ.ศ.2570 โดยตลาดใหญ่ที่สุดคืออเมริกา รองลงมาคือสหราชอาณาจักร

  • เกือบครึ่งของชาวสหรัฐฯ ต้องการลดการบริโภคเนื้อสัตว์ให้น้อยลง ทำให้ยอดขายตลาด Plant-based food ปี 2563 พุ่งสูงกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 33,000 ล้านบาท
  • ช่วงปี 2562 – 2564 การบริโภคอาหารจากพืชเติบโตสูงถึง 49% ในทวีปยุโรป  11 ประเทศ มียอดขายรวม 3.6 พันล้านยูโร (ประมาณ 1.39 แสนล้านบาท) ในจำนวนนี้ สินค้านมจากพืชมียอดขายสูงสุด ตามด้วยเนื้อจากพืช ตลาดใหญ่ที่สุด ได้แก่ สหราชอาณาจักร และเยอรมนี[2]
  • ในกลุ่มสินค้าเพื่อสุขภาพ ชาวจีนใช้จ่ายกับสินค้าอาหารเสริมคิดเป็นสัดส่วน 10% ของรายได้ ขณะที่ 9 ใน 10 ของคนอังกฤษต้องการผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่สามารถช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน
  • อาหารจากแมลง (Insect food) เป็นอีกหนึ่งจุดแข็งของตลาดไทยที่ต่างชาติต้องการ ในสหรัฐฯ มูลค่าตลาดอยู่ที่ 15.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (465 ล้านบาท) ในปี 2563 และมีแนวโน้มว่าจะขยายตัวมากกว่า 40% ต่อปี
  • ช่วงปีที่ผ่านมา เกิดเศรษฐกิจส่งเสริมการนอน หรือ economy of sleep ในประเทศจีน เพื่อแก้ปัญหาการนอนของประชากร สินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่เกี่ยวกับการนอนเติบโตอย่างเห็นได้ชัดในกลุ่มผู้บริโภควัยรุ่นชาวจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าส่งเสริมการนอนเชิงนวัตกรรมที่คาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าถึง 5 ล้านล้านบาท) ในปี 2030 [3]

อาหารแห่งอนาคตจะเป็นอนาคตของการส่งออกของไทยในการสร้างรายได้เข้าประเทศต่อยอดจากการส่งวัตถุดิบเพียงอย่างเดียว ตัวเลขส่งออกในกลุ่มสินค้าอาหารแห่งอนาคตของไทยไปยังตลาดโลกปี 2564 เป็นมูลค่า 93,602.17 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.86% มีตลาดหลักคือ สหรัฐอเมริกา จีน กัมพูชา เมียนมา และเนเธอร์แลนด์ โดยสินค้าที่มีแนวโน้มขยายตัวสูง ได้แก่ ฟังก์ชั่นฟู้ดส์ อาหารทางการแพทย์ และกลุ่มโปรตีนทางเลือก ในปี 2565 คาดการณ์ว่าสินค้ากลุ่มนี้จะเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 5% เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 ผลิตภัณฑ์กลุ่ม Home Improvement เติบโตพุ่งแรง

ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยสินค้าเพื่อกิจกรรมภายในบ้านมากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดจนถึงปัจจุบัน ทำให้ค้นพบว่าตลาดนี้ไม่ใช่แค่กระแสที่เข้ามาและผ่านไป แต่กลายเป็นไลฟ์สไตล์เกิดใหม่ที่ผู้คนให้ความสำคัญกับพื้นที่หรือสถานที่ โดยใช้เวลาไปกับการปรับปรุงบ้านและสร้างบรรยากาศ Hybrid Work ในที่อยู่อาศัยมากขึ้น และหากแบรนด์แสดงออกถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม ก็จะยิ่งมีผลโน้มน้าวต่อการออเดอร์สินค้าแบรนด์นั้น ๆ เพราะผู้บริโภคต้องการมีส่วนร่วมในการดูแลสิ่งแวดล้อมผ่านแบรนด์ที่ตนใช้บริการ

บริการขนส่งระหว่างประเทศยังคงมีผลต่อการตัดสินใจสั่งซื้อของ

คุณภาพการขนส่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการสร้างความไว้วางใจระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่ถูกจัดส่งข้ามประเทศ นอกจากการมีพาร์ทเนอร์ด้านการขนส่งด่วนระหว่างประเทศที่คอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับข้อระเบียบศุลกากรในแต่ละประเทศแล้วผู้ประกอบการควรจะหลีกเลี่ยง 4 ข้อผิดพลาดสำคัญที่ทำให้การส่งออก-นำเข้าล่าช้าหรือไม่ราบรื่น ได้แก่

1) ส่งสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ ของปลอม ของก้อปปี้: ของเหล่านี้จัดเป็นสิ่งผิดกฎหมายในทุกประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยที่มีประกาศกระทรวงฯ ว่าด้วยการห้ามส่งออกและนำเข้าสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์

2) สำแดงมูลค่าของต่ำกว่าราคาซื้อขายจริง: การแจ้งข้อมูลราคาสินค้าต่ำกว่าความเป็นจริง ผลที่จะตามมาคือ เกิดความล่าช้าในการขนส่ง หากเป็นการนำเข้าของที่ต้องชำระค่าภาษีอากร จะถือเป็นความผิดทางศุลกากรฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากรอีกด้วย

3) ไม่ระบุรายละเอียดสินค้าให้ถูกต้อง ครบถ้วน: การกรอกข้อมูลไม่ตรงกับสินค้าจริง หรือใส่รายละเอียดสินค้าไม่ชัดเจน เช่น Gift (ของขวัญ) แทนการระบุรายละเอียดลักษณะ การใช้งานของสินค้าอย่างตรงไปตรงมา ย่อมเพิ่มกระบวนการในการตรวจค้น และเป็นสาเหตุทำให้การขนส่งไปต่างประเทศล่าช้าได้

4) ไม่ระบุชื่อ ข้อมูลของผู้ส่งและผู้รับให้ถูกต้อง: การระบุชื่อ-นามสกุล ตามบัตรประจำตัวประชาชน หรือพาสปอร์ต และที่อยู่ หรือชื่อบริษัทที่ตรงตามเอกสารที่ได้รับการรับรองในประเทศนั้น ๆ ถือเป็นข้อกำหนดทางกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับกฎ ระเบียบ การปฎิบัติในด้านความปลอดภัยและการเก็บข้อมูลประกอบการสำแดงด้านศุลกากร

4 ข้อผิดพลาดสำคัญที่ทำให้การส่งออก-นำเข้าล่าช้าหรือไม่ราบรื่น

GoTrade: เครื่องมือทรงพลังในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

การช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในประเทศกำลังพัฒนาให้เข้าถึงตลาดทั่วโลกเป็นวิธีที่ดีเอชแอลใช้ในการเชื่อมโยงผู้คน และยกระดับคุณภาพชีวิต ความคิดริเริ่มของ GoTrade มาจากการใช้ความเชี่ยวชาญขององค์กรในการช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้าให้กับเอสเอ็มอีเพื่อให้เข้าถึงตลาดโลกได้ ความท้าทายที่เอสเอ็มอีส่วนใหญ่เผชิญ ได้แก่ กระบวนการนำเข้า/ส่งออกที่ไม่มีประสิทธิภาพ เอกสารที่ใช้เวลานานเพื่อการเข้าถึงตลาดทั่วโลก GoTrade เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ลูกค้าเอสเอ็มอีของดีเอชแอลเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงปัญหาคอขวด ขนส่งสินค้าผ่านด่านศุลกากรได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดีเอชแอลทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในการพัฒนากระบวนการเหล่านี้ เพื่อทำให้เอสเอ็มอีสามารถเติบโต และทำให้การค้าข้ามพรมแดนราบรื่น

นายฉันทพัทธ์ ปัญจมานนท์ ผู้อำนวยการสำนักตลาดพาณิชย์ดิจิทัล กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า “ภาพรวมส่งออกไทยในปี 2565 ยังขยายตัวได้ดี ภายหลังการเติบโตอย่างต่อเนื่อง 12 เดือนจนถึงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา[4] สินค้าส่งออกของไทยบางรายการขยายส่วนแบ่งการตลาดในตลาดหลัก เช่น จีน สหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศอาเซียน ในขณะที่ตลาดเกิดใหม่ เช่น แอฟริกา ตะวันออกกลาง และอเมริกาใต้เป็นตลาดที่มีศักยภาพสำหรับเอสเอ็มอีในการทำตลาด โดยปัจจัยที่สนับสนุนการส่งออกของไทยนอกจากการขยายตัวของภาคการผลิต แล้วยังเป็นอิทธิพลจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งส่งผลให้มีการนำเข้าสินค้าเข้าไปกักตุนไว้ รวมถึงการส่งเสริมของกระทรวงพาณิชย์ ก็มีบทบาทสำคัญในการขยายตลาดสู่ต่างประเทศ อีกทั้งการมีบริษัทที่มีเครือข่ายระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญด้านการค้าอย่าง ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ก็ช่วยทำให้เรามั่นใจว่าโครงการต่างๆ ของเราดำเนินไปได้อย่างราบรื่น และประสบความสำเร็จ เอสเอ็มอีสามารถใช้ประโยชน์จากศักยภาพการเติบโตของการค้าข้ามพรมแดนโดยไม่มีอุปสรรคด้านโลจิสติกส์ และทำให้การรับ-ส่งสินค้าเป็นไปอย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

เฮอร์เบิต วงศ์ภูษณชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทย และหัวหน้าภาพพื้นอินโดจีน เผยว่า  “หลายประเทศให้ความสำคัญกับการค้าอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนเพื่อเร่งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในตลาดการค้าโลก ในโลกของการค้า โครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์มีบทบาทอย่างยิ่งต่อการลดอุปสรรคคอขวดทางการค้า การค้าข้ามพรมแดนสร้างความเจริญรุ่งเรืองและทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น แต่ยังคงมีอุปสรรคในหลายภูมิภาค และนั่นคือจุดเริ่มต้นของ GoTrade ความร่วมมือของเรากับ DITP มีเป้าหมายเพื่อให้เอสเอ็มอีสามารถขายสินค้าระหว่างประเทศได้ผ่านอีคอมเมิร์ซและเครือข่ายที่แข็งแกร่งของเรา เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและครอบคลุม GoTrade ยังได้ออกแบบมาเพื่อช่วยธุรกิจในการดำเนินการด้านศุลกากร เพิ่มปริมาณการส่งออกและนำเข้า และลดอุปสรรคทางการค้าข้ามพรมแดน”

ปาริชาติ ประมุขกุล รองประธานฝ่ายขายและการตลาด บริษัท ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทย จำกัด เผยว่า “ปัจจุบันมีโอกาสมากมายสำหรับเอสเอ็มอีไทยในตลาดการค้าโลก ภายใต้สถานการณ์ที่เอื้ออำนวยต่อการส่งออก เช่น การฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วในหลายประเทศ การผ่อนคลายข้อจำกัดทางการค้า การลงทุนเพิ่มในธุรกิจโลจิสติกส์เพื่อขยายขีดความสามารถในการขนส่งสินค้า และหลายประเทศหันมาส่งเสริมการอำนวยความสะดวกทางการค้ามากขึ้น อย่างไรก็ตามความท้าทายด้านการบริหาร ด้านเทคนิค และกฎระเบียบทำให้เอสเอ็มอีขยายธุรกิจไปต่างประเทศได้อย่างล่าช้า GoTrade ได้เข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหาเหล่านี้โดยใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมของเรา รวมถึงให้ความรู้และทรัพยากรเพื่อช่วยให้เอสเอ็มอีก้าวข้ามผ่านอุปสรรคดังกล่าว”

อ่านบทความได้ที่ https://dhltoyou.com/th/blog/detail/124/DITP-DHL-Express-GoTrade-webinar