Gartner

Gartner Says 2023 Is the Moment of Truth for Battery-Electric Vehicles

การ์ทเนอร์ ชี้ปี 2566 คือช่วงเวลาสำคัญของรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEVs)

  • The Auto Industry Will See More Turmoil in 2023.
  • By 2025, Tech Giants Will Own a Part of the Vehicle’s Operating System for 95% of New Cars on the Road.
  • By 2026, More Than 50% of EVs Sold Globally Will Be Chinese-Branded Automobiles.

Several factors will make 2023 a true test to the resolve of governments and the automotive industry in driving battery-electric vehicles (BEVs) forward, according to Gartner, Inc.

“2023 is the moment of truth to drive full electrification forward,” said Pedro Pacheco, VP Analyst at Gartner. “The spike in electricity prices in Europe make BEV running costs less attractive, some countries, like the U.K., Switzerland and Australia, are starting to introduce EV taxation. In addition, China ended electric vehicle subsidies at the beginning of 2023 and global charging infrastructure still has many coverage gaps and the average quality of service is poor.”

In addition, the sharp increase in raw material prices like lithium and nickel will inherently drive BEV costs higher, which will make it harder for original equipment manufacturers (OEMs) to close the price gap with internal combustion. As a result, BEV sales may grow at a considerably lower pace or stall in some markets, making investments related to BEVs take longer to achieve break even.

Gartner expects supply chain shortages in the automotive industry to continue through 2023. “More than two years after the pandemic began, carmakers still cannot forecast an end to shortages of semiconductor chips or the subsequent shortage of vehicles they can produce. They also face short supply of key materials for BEV batteries, causing the prices of commodities to surge,” said Mike Ramsey, VP Analyst at Gartner.

“The digital transformation of automotive retail has not stalled, simply reduced speed,” said Pacheco. “As the challenging economic environment is slowly moving the automotive market from supply-constraint to demand-constrained, automakers and retailers will refocus on the transition to online retail sales. They will also do so to reduce sales costs.”

This downturn period provides an opportunity for automotive CIOs to help their companies grow their market share through technology. For instance, several established automakers are trying to transform into technology companies, but their corporate culture has been a major obstacle to their ambitions. “This must be their starting point to avoid widening the gap with digital native automakers and grow their revenue via the use of technology even further,” said Pacheco.

Beyond 2023

Gartner predicts that by 2026, more than 50% of EVs sold globally will be Chinese-branded automobiles. “There are more than 15 Chinese companies selling EVs and many of these are smaller and much less expensive models than those sold by foreign rivals,” said Ramsey. “While foreign automakers like Tesla, VW and GM are selling a lot of EVs in China, the growth is much faster with Chinese companies.”

As demand grows around the world for EVs, Chinese firms are well-situated to take advantage of the growth with good access to key minerals and battery manufacturing capacity in China. Gartner recommends that automotive CIOs focused on EVs, integrate supply chain planning and visibility software to ensure better business decisions about where key materials are sourced and ensure resiliency for key materials.

Gartner analysts estimate that by 2025, tech giants will own a part of the operating system for 95% of new cars on the road.

Tech giants have begun to displace established automotive Tier 1 suppliers as in-vehicle software providers (e.g., Google Automotive Services and CarPlay), and are also using their ecosystems to claim a larger share of the vehicle operating system territory (e.g., Renault’s partnership with Google and VW’s partnership with Microsoft). Furthermore, several tech giants are directly involved in the development, manufacturing and sale of cars. Foxconn, Huawei, Alibaba, Xiaomi, Tencent and Sony are all examples of this trend.

“Succeeding alone won’t be possible for a traditional OEM or supplier,” said Pacheco. “Each of them must forge partnerships with at least some digital giants if they want to remain profitable and competitive in the industry.”

  • อุตสาหกรรมยานยนต์จะเผชิญกับความยุ่งยากมากขึ้นในปีนี้ 
  • ในปี 2568 บริษัทเทคฯ ยักษ์ใหญ่จะเป็นเจ้าของส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการสำหรับรถยนต์ใหม่บนท้องถนนถึง 95%
  • ในปี 2569 มากกว่า 50% ของรถยนต์ไฟฟ้า (EVs) ที่จำหน่ายทั่วโลกจะเป็นแบรนด์จีน

การ์ทเนอร์ ชี้มีปัจจัยหลายประการที่ทำให้ปี 2566 กลายเป็นบททดสอบอย่างแท้จริงในการแก้ไขปัญหาของภาครัฐบาลและภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ เพื่อผลักดันรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEVs) ให้เดินไปข้างหน้า

เปโดร ปาเชโก รองประธานฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “ปีนี้เป็นช่วงเวลาสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันยานยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบให้เดินหน้าได้ต่อ ด้วยราคาค่าไฟฟ้าที่พุ่งสูงขึ้นในยุโรปทำให้ต้นทุนการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) น่าสนใจลดลง ประกอบกับในบางประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรเลีย ที่กำลังเริ่มจัดเก็บภาษีรถยนต์อีวี นอกจากนี้ช่วงต้นปี 2566 จีนยุติการอุดหนุนรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงยังมีปัจจัยด้านการวางโครงสร้างพื้นฐานสถานีชาร์จทั่วโลกที่พบว่ายังไม่ครอบคลุมเพียงพออย่างมาก และคุณภาพการให้บริการโดยเฉลี่ยก็ยังแย่”

นอกเหนือจากนี้ ยังมีปัจจัยราคาของวัตถุดิบที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ลิเธียมและนิกเกิลที่ทำให้ต้นทุนการผลิตรถ BEV สูงขึ้น ส่งผลให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนแบบโออีเอ็ม (หรือ OEM) ลดช่องว่างด้านราคากับรถยนต์เครื่องยนต์สัปดาปได้ยากขึ้น ผลที่ตามมาคือยอดขายรถ BEV อาจเติบโตในระดับที่ต่ำกว่ามากหรือหยุดชะงักในบางตลาด ทำให้การลงทุนที่เกี่ยวข้องกับรถ BEV ใช้เวลานานขึ้นกว่าจะถึงจุดคุ้มทุน

ไมค์ แรมซี่ รองประธานฝ่ายวิจัยอีกคนของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “เราคาดว่าปัญหาการขาดแคลนในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมยานยนต์จะยังดำเนินต่อไปตลอดในปีนี้ ผู้ผลิตรถยนต์ยังไม่สามารถคาดการณ์ถึงจุดสิ้นสุดของสถานการณ์ขาดแคลนชิปเซมิคอนดักเตอร์หรือที่ลามไปสู่การผลิตรถยนต์ที่สะดุดตามมา ผู้ผลิตเหล่านี้ยังประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบหลักสำหรับแบตเตอรี่ในรถ BEV อันทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์พุ่งสูงขึ้น”

“การเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลของการจำหน่ายยานพาหนะยังคงเดินหน้าต่อ เพียงแต่ช้าลง ขณะที่สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจกำลังท้าทายการขับเคลื่อนของตลาดรถยนต์ จากข้อจำกัดด้านอุปทานไปสู่ข้อจำกัดด้านอุปสงค์ โดยผู้ผลิตและผู้จำหน่ายรถยนต์จะมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนไปสู่การจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อลดต้นทุนในการจำหน่าย”

ในช่วงขาลงนี้กลับเป็นโอกาสอันดีของผู้บริหารไอที (CIOs) ในแวดวงยานยนต์ที่จะช่วยให้บริษัทสามารถเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดด้วยการใช้เทคโนโลยีได้ ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตรถยนต์หลายรายกำลังพยายามเปลี่ยนไปเป็นบริษัทเทคโนโลยี แต่วัฒนธรรมองค์กรเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการแนวทางการขับเคลื่อนนี้ “นี่ยังเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการลดช่องว่างกับผู้ผลิตรถยนต์ดิจิทัล และยังสร้างรายได้ให้เติบโตผ่านการใช้เทคโนโลยี” ปาเชโก กล่าวเพิ่มเติม

มองไกลกว่าปี 2566

การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่า ภายในปี 2569 มากกว่า 50% ของรถยนต์ไฟฟ้าที่จำหน่ายทั่วโลกจะเป็นแบรนด์จากประเทศจีน แรมซี่ กล่าวเพิ่มเติมว่า “มีบริษัทจีนมากกว่า 15 แห่งที่จำหน่ายรถอีวีและหลายรุ่นมีขนาดเล็กกว่าและมีราคาถูกกว่าคู่แข่งต่างชาติอย่างมาก ขณะที่แบรนด์ผู้ผลิตรถยนต์อื่น ๆ Tesla, VW และ GM กำลังจำหน่ายรถอีวีจำนวนมากในประเทศจีน และยังพบว่าเติบโตรวดเร็วกว่าบริษัทจากจีนอย่างมาก”

เนื่องจากความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก บริษัทจีนหลายแห่งจึงอยู่ในสถานการณ์ที่ดีที่สามารถใช้ประโยชน์จากการเติบโตตลาด ด้วยการเข้าถึงแร่สำคัญ ๆ และกำลังการผลิตแบตเตอรี่ในประเทศจีนได้ การ์ทเนอร์แนะนำให้ผู้บริหารไอที (CIOs) ในอุตสาหกรรมยานยนต์ให้ความสำคัญกับรถยนต์ไฟฟ้า ผสานเข้ากับการวางแผนด้านห่วงโซ่อุปทานและซอฟต์แวร์การควบคุมการมองเห็น (Visibility Software) เพื่อช่วยตัดสินใจทางธุรกิจเกี่ยวกับแหล่งที่มาและมีการรับประกันที่ยืดหยุ่นของวัสดุหลักในการผลิตได้ดียิ่งขึ้น

นักวิเคราะห์ของการ์ทเนอร์ประเมินว่าภายในปี 2568 บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่จะเป็นเจ้าของระบบปฏิบัติการส่วนหนึ่งสำหรับรถยนต์ใหม่บนท้องถนนถึง 95%

บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่เริ่มเข้ามาแทนที่ผู้ผลิตอุปกรณ์ยานยนต์ (ระดับ Tier 1) ในฐานะผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ในรถยนต์ (อาทิ Google Automotive Services และ CarPlay) และยังขยายเครือข่ายของตนเพื่อเคลมส่วนแบ่งการตลาดที่มากขึ้นในขอบเขตของระบบปฏิบัติการรถยนต์ (อาทิ ความร่วมมือระหว่าง Renault กับ Google หรือ ความร่วมมือของ VW กับ Microsoft) นอกจากนี้ ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีหลายรายยังเกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนา การผลิต และการจำหน่ายรถยนต์ อาทิ Foxconn, Huawei, Alibaba, Xiaomi, Tencent และ Sony ที่ล้วนเป็นตัวอย่างของเทรนด์ที่เกิดขึ้นนี้

“เป็นไปไม่ได้ที่ผู้ผลิต OEM หรือซัพพลายเออร์แบบดั้งเดิมจะประสบความสำเร็จแต่เพียงผู้เดียว อย่างน้อยแต่ละรายต้องร่วมมือกับยักษ์ใหญ่ด้านดิจิทัล หากพวกเขาต้องการรักษากำไรและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในอุตสาหกรรมนี้” ปาเชโก กล่าวสรุป