By Autumn Stanish, director analyst at Gartner
With the rapid acceleration of digital business and the introduction of new compute capabilities for AI workloads, demand for new endpoint devices is continuing to grow at exponential rates. This comes at a steep environmental and financial cost for most organisations.
Endpoint devices make up a significant portion of ITs overall greenhouse gas (GHG) emissions footprint and waste production within most enterprises. In response, increasing government regulations are focusing on the sustainable management of end-user devices and e-waste.
According to the UN’s fourth Global E-waste Monitor, Thailand generated 753,000 tonnes of e-waste in 2022, ranking second highest in Southeast Asia behind Indonesia. However, there is currently no specific legislation governing direct e-waste management in Thailand.
Managing the environmental sustainability of endpoint devices is increasingly becoming a core responsibility for infrastructure and operations (I&O) leaders. Yet, many don’t realise the decisions they make throughout the device life cycle — from procurement and shipping to asset management and decommissioning — have a significant impact in optimising IT sustainability.
There are many indirect benefits by making strategic device sustainability decisions, including cost savings, process modernisation, resilience and a higher level of employee satisfaction and talent attraction.
Achieving a sustainable device life cycle is a critical business opportunity, and the circular economy provides a framework for pursuing such goals. That is, to optimise device intake and use, not just mitigate disposal.
The IT circular economy can be used to continually rationalise, retain and restructure the complete device life cycle to equally serve the planet, engage employees and support the business – and there are a range of practices to achieve this.
Existing assets
Thoroughly inventory, catalogue and identify endpoint assets, and take a critical look at the ratio of devices per employee. Once calculated, optimise the number of devices per worker to ensure no one is wasting underutilised resources.
From a waste and emissions reduction perspective, reusing or repairing devices is more effective than remanufacturing or recycling them as they contain embodied carbon and energy impact. They also have the expense of additional labour and costs to decommission and procure new equipment.
Device life span
Most organisations are increasing refresh cycles to four to five years for employee laptops and three years on mobile devices to capitalise on their residual useful life. Extending device life span represents potential cost savings and can defer significant quantities of GHG emissions from manufacturing new products.
Life spans can be defined based on workplace personas (such as hybrid/mobile, deskbound, frontline) and on their unique usage patterns and hardware requirements. Maximise the return on endpoint investments by using utilisation and performance data to know whether a device needs to be replaced, or to predict and proactively replace batteries and other hardware showing symptoms of failure.
Beyond a life span of five years, recycling for materials and parts is often the optimal option, as most commercial-grade devices lose support and security updates; exhibit higher component failure rates, slower performance and cosmetic wear and tear; and consume more energy.
Virtual desktops
A recent Gartner survey found that desktop as a service (DaaS) or virtual desktop infrastructure (VDI) were in the top 10 most widely implemented initiatives to reduce IT GHG emissions.
Whether working from an office or home, deskbound workers who don’t need a laptop may be able to use more efficient devices. DaaS enables use of fixed thin clients, which have a significantly lower manufacturing and operational carbon footprint than laptops or desktops, and a longer useful life span (six to eight years).
The life span of existing computers can also be extended by repurposing them with a thin client operating system, which will also enable a consistent operating system across thin clients and repurposed PCs.
Power state configurations
The long-term reliability of a device often depends on how an employee treats and maintains it. The battery is one of the first things to fail on a device, so reducing energy consumption throughout use will preserve the battery and avoid premature obsolescence.
Configure devices to operate in the lowest power state required to perform, such as standby mode or a sleep state when not used, and enabling other power-saving features. Expectations should also be set with employees to do the same.
Refurbished equipment
For employees that don’t need a high-performing device, consider refurbished and remanufactured equipment to give devices a second life. Increased reports of companies significantly reducing hardware spend and e-waste are helping reduce the stigma around this. A remanufacturer relationship also mitigates new device supply chain issues with a less competitive resource stream.
To securely capture the cost, emissions and waste reduction potential of refurbished products, ensure providers have specific quality and environmental certifications, and negotiate take-back and recycling strategies. Also, check coverage of software, firmware, driver and updates to fix bugs and security issues for the entire expected life, as well as extended warranty coverage.
Device procurement
Environmental sustainability must be a core buying criterion in every procurement deal. Consider vendors that transparently share sustainability performance data. Choose equipment that is shipped in responsible packaging, has ecolabel certifications and product carbon footprint data. Use baseline testing to compare laptops to determine energy efficiency and calculate that standard energy load within the organisation’s unique environment.
Another area to evaluate is managed device life cycle services (MDLS) and BYOD. MDLS ensures the environmentally efficient tracking, management and disposal of devices is a responsibility of the vendor, while BYOD ultimately reduces the overall device load that the organisation is accountable for reporting on and measuring from an environmental perspective. It avoids contributing to the mass manufacturing of new endpoint devices.
บทความโดย ออทัมน์ สแตนนิช ผู้อำนวยการฝ่ายนักวิเคราะห์ของการ์ทเนอร์
ในยุคที่ธุรกิจดิจิทัลขยายตัวอย่างรวดเร็วและเทคโนโลยี AI พัฒนารุดหน้าอย่างก้าวกระโดด ส่งผลให้ความต้องการอุปกรณ์ปลายทางใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น AI PC หรือ GenAI Smartphone มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทวีคูณ และนั่นทำให้องค์กรส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมและการเงินอย่างมหาศาล
อุปกรณ์ปลายทางหรือ Endpoint Devices มีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) และสร้างขยะภายในองค์กรอย่างมาก เพื่อรับมือกับปัญหานี้ รัฐบาลทั่วโลกได้ออกกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นเพื่อส่งเสริมการจัดการอุปกรณ์ปลายทางและขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-waste อย่างยั่งยืน
จากรายงาน Global e-Waste Monitor ครั้งที่ 4 ขององค์การสหประชาชาติ เผยประเทศไทยมีขยะอิเล็กทรอนิกส์สูงถึง 753,000 ตันในปี 2565 โดยสูงเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากอินโดนีเซีย แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายเฉพาะสำหรับการควบคุมและการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย
ผู้บริหารฝ่ายจัดการโครงสร้างพื้นฐานและฝ่ายปฏิบัติการ (I&O) ต่างให้ความสำคัญกับการจัดการความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมของอุปกรณ์ปลายทางมากขึ้น แต่มีอีกหลายคนยังไม่ตระหนักว่าการตัดสินใจในเรื่องการจัดการวงจรชีวิตของอุปกรณ์ ตั้งแต่การจัดซื้อ-จัดส่ง ไปจนถึงการจัดการสินทรัพย์และการปลดระวางการใช้งานอุปกรณ์นั้นส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อประสิทธิภาพการบริหารและจัดการความยั่งยืนด้านไอที
การตัดสินใจเลือกใช้อุปกรณ์ที่ยั่งยืนส่งผลดีต่อธุรกิจรอบด้าน ไม่เพียงแต่ช่วยประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่าย แต่ยังปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ทันสมัย เพิ่มความยืดหยุ่น ยกระดับความพึงพอใจของพนักงานและดึงดูดผู้มีทักษะความสามารถสูงให้มาร่วมงานกับองค์กร
การบรรลุเป้าหมายวงจรชีวิตอุปกรณ์ที่ยั่งยืนหรือ Sustainable Device Life Cycle คือโอกาสทางธุรกิจที่สำคัญ และระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนยังเป็นแนวทางสำคัญที่ช่วยบรรลุเป้าหมายนี้ ไม่ใช่แค่การลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ แต่เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้และยืดอายุการใช้อุปกรณ์ให้ยาวนานที่สุด
ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนไอที หรือ IT Circular Economy เป็นแนวทางปฏิบัติที่ช่วยให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายความยั่งยืน ผ่านการออกแบบและจัดการวงจรชีวิตของอุปกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมส่งเสริมการเข้าถึงเทคโนโลยีอย่างเท่าเทียม และสร้างแรงจูงใจให้พนักงานมีส่วนร่วม
บริหารจัดการอุปกรณ์ที่มีอยู่เดิม (Existing assets)
องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายความยั่งยืน โดยลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์และประหยัดเงินได้ด้วยการจัดการอุปกรณ์ปลายทางอย่างมีประสิทธิภาพ ขั้นตอนแรกคือการจัดทำรายการ แคตตาล็อกและระบุจำนวนอุปกรณ์ปลายทางทั้งหมดไว้อย่างละเอียด เมื่อมีรายการอุปกรณ์ครบถ้วน ขั้นตอนต่อไปคือการวิเคราะห์จำนวนอุปกรณ์ต่อพนักงาน เพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานแต่ละคนได้รับการจัดสรรอุปกรณ์เหมาะสมต่อการใช้งาน และเพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์ได้อย่างเต็มที่
การลดขยะและลดการปล่อยมลพิษเป็นเป้าหมายสำคัญขององค์กรทั่วโลก ดังนั้นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพอย่างหนึ่งคือการนำกลับมาใช้ซ้ำหรือซ่อมแซมอุปกรณ์ที่มีอยู่เดิมเพื่อทดแทนการผลิตใหม่หรือรีไซเคิล เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้มี “ผลต่อการปล่อยคาร์บอน” และ “การใช้พลังงาน” นอกจากนี้ การผลิตใหม่หรือรีไซเคิลยังต้องใช้แรงงานและมีต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับการปลดระวางและจัดหาอุปกรณ์ใหม่
ยืดอายุอุปกรณ์ (Device life span)
องค์กรส่วนใหญ่กำลังยืดรอบการเปลี่ยนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใหม่ให้กับพนักงาน โดยเฉลี่ยแล้วแล็ปท็อปจะถูกเปลี่ยนใหม่ทุก ๆ สี่ถึงห้าปี และอุปกรณ์เคลื่อนที่เปลี่ยนใหม่ทุกสามปี กลยุทธ์ “ยืดอายุอุปกรณ์” ช่วยลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ ประหยัดต้นทุน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตอุปกรณ์ใหม่ ๆ
อายุการใช้งานอุปกรณ์อาจขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งาน (อาทิ ทำงานแบบไฮบริดหรือทำงานผ่านมือถือ นั่งทำงานที่โต๊ะประจำหรือทำงานนอกสถานที่) หรือตามฮาร์ดแวร์และการใช้งานเฉพาะ โดยยึดข้อมูลการใช้งานและประสิทธิภาพเป็นกุญแจสำคัญในการเป็นปัจจัยกำหนดอายุการใช้งานอุปกรณ์ ซึ่งข้อมูลนี้ช่วยให้องค์กรทราบว่าอุปกรณ์ใดที่ใกล้จะปลดระวางและต้องเปลี่ยนใหม่ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ข้อมูลนี้เพื่อคาดการณ์และสับเปลี่ยนแบตเตอรี่รวมถึงฮาร์ดแวร์ชิ้นอื่น ๆ ที่เกิดการขัดข้องในแบบเชิงรุกได้
การรีไซเคิลวัสดุและส่วนประกอบอุปกรณ์มักเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดหลังใช้งานเกินห้าปี เนื่องจากอุปกรณ์เชิงพาณิชย์ส่วนใหญ่จะไม่ได้รับการสนับสนุนและการอัปเดตด้านความปลอดภัย และมีอัตราที่ส่วนประกอบจะทำงานบกพร่องสูงขึ้น มีประสิทธิภาพช้าลง สึกหรอตามรูปลักษณ์ และบริโภคพลังงานมากขึ้น
เวอร์ชวลเดสก์ท็อป (Virtual desktops)
ผลสำรวจล่าสุดของการ์ทเนอร์ยังพบว่า Desktop as a Service (DaaS) หรือโครงสร้างพื้นฐานเวอร์ชวลเดสก์ท็อป (VDI) นั้นติด 10 อันดับแรกของโครงการริเริ่มที่มีการนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายมากที่สุด เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากอุปกรณ์ไอที
พนักงานนั่งโต๊ะไม่ว่าจะทำงานจากออฟฟิศหรือที่บ้าน อาจไม่ต้องการใช้แล็ปท็อปเสมอไป แต่สามารถใช้อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพและใช้งานง่ายได้ โดยบริการ Desktop As A Service หรือ DaaS ช่วยให้สามารถใช้ Thin Client ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ส่วนกลางเพื่อควบคุมและประมวลผล ซึ่งก่อให้เกิดคาร์บอนจากการผลิตและการดำเนินการที่ต่ำกว่าอย่างมากเมื่อเทียบกับการใช้แล็ปท็อปหรือเดสก์ท็อป และยังมีอายุใช้งานยาวกว่า (หกถึงแปดปี)
อายุการใช้คอมพิวเตอร์สามารถขยายเพิ่มได้โดยการนำกลับมาใช้ใหม่ ด้วยระบบปฏิบัติการ Thin Client ซึ่งช่วยให้สามารถเปิดใช้ระบบปฏิบัติการเดียวกันรวมถึงเครื่องพีซีที่นำมาใช้ใหม่ในเครือข่ายของ Thin Clients
การกำหนดค่าสถานะพลังงาน (Power state configurations)
ความเสถียรของอุปกรณ์ระยะยาวมักขึ้นอยู่กับว่าพนักงานนั้นดูแลและบำรุงรักษาอุปกรณ์อย่างไร โดยแบตเตอรี่มักเป็นสิ่งแรกที่จะเสื่อมสภาพ ดังนั้นการลดการใช้พลังงานตลอดการใช้งานจะช่วยถนอมแบตเตอรี่และลดภาวะแบตเสื่อมก่อนเวลาอันควร
ตั้งค่าอุปกรณ์ให้ทำงานในสถานะพลังงานต่ำที่สุดเท่าที่จำเป็นต่อการทำงาน เช่น เปิดโหมดสแตนด์บายหรือโหมดสถานะพักเครื่องเมื่อไม่ได้ใช้งาน และเปิดใช้งานฟีเจอร์ประหยัดพลังงานอื่น ๆ โดยองค์กรควรกำหนดให้พนักงานทำแบบเดียวกันทั้งหมด
อุปกรณ์ที่ได้รับการปรับปรุงเสมือนใหม่ (Refurbished equipment)
พนักงานที่ไม่ต้องการใช้อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง ให้พิจารณาใช้อุปกรณ์ที่ได้รับการปรับปรุงเสมือนใหม่แต่คงประสิทธิการใช้งานเดิมไว้ มีรายงานที่มากขึ้นว่าบริษัทสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านฮาร์ดแวร์และขยะอิเล็กทรอนิกส์ลงอย่างมากจากแนวทางนี้ ช่วยให้ภาพลักษณ์องค์กรดีขึ้น โดยความสัมพันธ์กับผู้ผลิตรายใหม่ ๆ ยังช่วยลดปัญหาห่วงโซ่อุปทานของอุปกรณ์ใหม่ ๆ ด้วยแหล่งทรัพยากรที่มีการแข่งขันน้อยลง
เพื่อควบคุมต้นทุน, การปล่อยมลพิษ และศักยภาพในการลดขยะของผลิตภัณฑ์ที่ปรับปรุงเสมือนใหม่อย่างปลอดภัย ต้องมั่นใจว่าผู้ให้บริการมีใบรับรองคุณภาพสิ่งแวดล้อมเฉพาะ สามารถต่อรองการส่งคืนสินค้าและมีกลยุทธ์การรีไซเคิล นอกจากนี้ ยังสามารถตรวจสอบการใช้ซอฟต์แวร์ เฟิร์มแวร์ ไดรเวอร์ และการอัปเดตได้อย่างครอบคลุมเพื่อแก้ไขจุดบกพร่องและปัญหาความปลอดภัยตลอดอายุการใช้งาน รวมถึงการรับประกันที่ขยายเวลาออกไป
การจัดหาอุปกรณ์ (Device procurement)
ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมต้องนำมาใช้เป็นเกณฑ์หลักเพื่อพิจารณาการจัดซื้อ ตั้งแต่ผู้ขายว่ามีการแชร์ข้อมูลประสิทธิภาพความยั่งยืนอย่างโปร่งใสหรือไม่ หรือมีการเลือกบรรจุภัณฑ์จัดส่งอุปกรณ์อย่างมีความรับผิดชอบ มีฉลากการรับรองประสิทธิภาพสิ่งแวดล้อมหรือ Ecolabel Certifications และมีการระบุข้อมูลปริมาณการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ชัดเจน เพื่อใช้ทดสอบขั้นพื้นฐานสำหรับเปรียบเทียบแล็ปท็อป และพิจารณาประสิทธิภาพการใช้พลังงาน รวมถึงคำนวณปริมาณการใช้พลังงานมาตรฐานภายในสภาพแวดล้อมการทำงานในองค์กรเป็นการเฉพาะ
อีกประเด็นหนึ่งที่ต้องนำมาประเมินคือแนวทางของบริการด้านการจัดการอุปกรณ์หรือ Managed Device Life Cycle Services (MDLS) และการนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาทำงานหรือ Bring Your Own Device (BYOD) โดย MDLS นั้นช่วยรับประกันว่าการติดตาม การจัดการ และการกำจัดอุปกรณ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยคำนึงต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของผู้ขาย ขณะที่ BYOD จะช่วยลดภาระภาพรวมของอุปกรณ์ที่องค์กรต้องดูแลที่ต้องระบุไว้ในการรายงานและถูกประเมินด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งแนวทางนี้สามารถช่วยให้องค์กรลดการเพิ่มอุปกรณ์ปลายทางใหม่ได้อย่างมหาศาล