Gartner

Gartner Identifies the Top Cybersecurity Trends for 2024

การ์ทเนอร์เผย 6 แนวโน้มความมั่นคงไซเบอร์ที่สำคัญในปี 2567

 Generative AI (GenAI), unsecure employee behavior, third-party risks, continuous threat exposure, boardroom communication gaps and identity-first approaches to security are the driving forces behind the top cybersecurity trends for 2024, according to Gartner, Inc.

“GenAI is occupying significant headspace of security leaders as another challenge to manage, but also offers an opportunity to harness its capabilities to augment security at an operational level,” said Richard Addiscott, Senior Director Analyst at Gartner. “Despite GenAI’s inescapable force, leaders also continue to contend with other external factors outside their control they shouldn’t ignore this year.”

2024 will see security leaders respond to the combined impact of these forces by adopting a range of practices, technical capabilities and structural reforms within their security programs, with a view to improving organizational resilience and the cybersecurity function’s performance.

The following six trends will have broad impact across these areas:

Trend 1: Generative AI – Short-term Skepticism, Longer-Term Hope

Security leaders need to prepare for the swift evolution of GenAI, as large language model (LLM) applications like ChatGPT and Gemini are only the start of its disruption. Simultaneously, these leaders are inundated with promises of productivity increases, skills gap reductions and other new benefits for cybersecurity. Gartner recommends using GenAI through proactive collaboration with business stakeholders to support the foundations for the ethical, safe and secure use of this disruptive technology.

“It’s important to recognize that this is only the beginning of GenAI’s evolution, with many of the demos we’ve seen in security operations and application security showing real promise,” said Addiscott. “There’s solid long-term hope for the technology, but right now we’re more likely to experience prompt fatigue than two-digit productivity growth. Things will improve, so encourage experiments and manage expectations, especially outside of the security team.”

Trend 2: Cybersecurity Outcome-Driven Metrics: Bridging Boardroom Communication Gap

The frequency and negative impact of cybersecurity incidents on organizations continues to rise, undermining the confidence of the board and executives in their cybersecurity strategies. Outcome-driven metrics (ODMs) are increasingly being adopted to enable stakeholders to draw a straight line between cybersecurity investment and the delivered protection levels it generates.

According to Gartner, ODMs are central to creating a defensible cybersecurity investment strategy, reflecting agreed protection levels with powerful properties, and in simple language that is explainable to non-IT executives. This provides a credible and defensible expression of risk appetite that supports direct investment to change protection levels.

Trend 3: Security Behavior and Culture Programs Gain Increasing Traction to Reduce Human Risks

Security leaders recognize that shifting focus from increasing awareness to fostering behavioral change will help reduce cybersecurity risks. By 2027, 50% of large enterprise CISOs will have adopted human-centric security design practices to minimize cybersecurity-induced friction and maximize control adoption. Security behavior and culture programs (SBCPs) encapsulate an enterprisewide approach to minimizing cybersecurity incidents associated with employee behavior.

“Organizations using SBCPs have experienced better employee adoption of security controls; reductions in unsecure behavior and increases in speed and agility,” said Addiscott. “It also leads to a more effective use of cybersecurity resources as employees become competent at making independent cyber risk decisions.”

Trend 4: Resilience-Driven, Resource-Efficient Third-Party Cybersecurity Risk Management

The inevitability of third parties experiencing cybersecurity incidents is pressuring security leaders to focus more on resilience-oriented investments and move away from front loaded due diligence activities. Gartner recommends security leaders enhance risk management of third-party services and establish mutually beneficial relationships with important external partners, to ensure their most valuable assets are continuously safeguarded.

“Start by strengthening contingency plans for third-party engagements that pose the highest cybersecurity risk,” said Addiscott. ”Create third-party-specific incident playbooks, conduct tabletop exercises and define a clear offboarding strategy involving, for example, timely revocation of access and destruction of data.”

Trend 5: Continuous Threat Exposure Management Programs Gain Momentum

Continuous threat exposure management (CTEM) is a pragmatic and systemic approach organizations can use to continually evaluate the accessibility, exposure and exploitability of digital and physical assets. Aligning assessment and remediation scopes with threat vectors or business projects rather than an infrastructure component, highlights vulnerabilities and unpatchable threats.

By 2026, Gartner predicts that organizations prioritizing their security investments based on a CTEM program will realize a two-thirds reduction in breaches. Security leaders must continuously monitor hybrid digital environments to enable early identification and optimal prioritization of vulnerabilities to help maintain a hardened organizational attack surface.

Trend 6: Extending the Role of Identity & Access Management (IAM) to Improve Cybersecurity Outcomes

As more organization’s move to an identity-first approach to security, the focus shifts from network security and other traditional controls to IAM, making it critical to cybersecurity and business outcomes. While Gartner sees an increased role for IAM in security programs, practices must evolve to focus more on fundamental hygiene and hardening of systems to improve resilience.

Gartner recommends security leaders focus on strengthening and leveraging their identity fabric and leverage identity threat detection and response to ensure IAM capabilities are best positioned to support the breadth of the overall security program.

การ์ทเนอร์เผย Generative AI, พฤติกรรมพนักงานที่ไม่ปลอดภัย, ความเสี่ยงจากบุคคลที่สาม, ภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง, ช่องว่างการสื่อสารในทีมบริหาร และแนวทางการรักษาความปลอดภัยที่ยึดการยืนยันตัวตนเป็นหลัก ล้วนเป็นปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังและคอยขับเคลื่อนแนวโน้มความมั่นคงไซเบอร์ที่สำคัญ ๆ ในปีนี้

มร.ริชาร์ด แอดดิสคอตต์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “GenAI กำลังสร้างความกังวลใจให้กับผู้บริหารด้านความปลอดภัยในฐานะที่เป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่ต้องจัดการ อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีนี้ได้มอบโอกาสการควบคุมขีดความสามารถเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในระดับปฏิบัติการ แม้ Gen AI จะเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญอย่างเลี่ยงไม่ได้ ทว่าผู้บริหารยังต้องต่อสู้กับปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมที่ไม่อาจมองข้ามในปีนี้”

ปีนี้เราจะเห็นว่าผู้บริหารด้านความปลอดภัยตอบสนองต่อผลกระทบเหล่านี้ โดยนำแนวทางปฏิบัติ ความสามารถเชิงเทคนิค และการปฏิรูปโครงสร้างมาใช้ภายในโปรแกรมความปลอดภัยของตน โดยมีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงความยืดหยุ่นขององค์กรและเพิ่มประสิทธิภาพฟังก์ชันความปลอดภัยทางไซเบอร์

6 เทรนด์ต่อไปนี้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างในหลากหลายด้าน:

เทรนด์ที่ 1: Generative AI – ระยะสั้นยังกังขา แต่ระยะยาวคือความหวัง

ผู้บริหารจำเป็นต้องเตรียมพร้อมรับมือกับวิวัฒนาการอย่างรวดเร็วของ GenAI เนื่องจากแอปพลิเคชันโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) เช่น ChatGPT และ Gemini นั้นยังเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการดิสรัปต์เท่านั้น ขณะเดียวกันผู้บริหารต่างมีเป้าหมายที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดช่องว่างด้านทักษะ และมอบประโยชน์ใหม่อื่น ๆ สำหรับความมั่นคงทางไซเบอร์ การ์ทเนอร์แนะนำว่าการใช้ GenAI นั้นควรเกิดขึ้นผ่านความร่วมมือเชิงรุกกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางธุรกิจ เพื่อสนับสนุนการใช้ Disruptive Technology นี้อย่างมีจริยธรรมและตั้งอยู่บนพื้นฐานความปลอดภัย

“สิ่งสำคัญคือเราต้องเข้าใจว่าตอนนี้วิวัฒนาการ GenAI ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น จากการสาธิตหลากหลายที่เราได้เห็นในด้านการดำเนินการความปลอดภัยและในแอปพลิเคชันความปลอดภัยที่เผยให้เห็นคำมั่นสัญญาที่แท้จริง ทำให้ในระยะยาวยังมีความหวังรออยู่สำหรับเทคโนโลยีนี้ แต่ในเวลานี้มีแนวโน้มที่จะเจอกับความอ่อนเปลี้ยของผลผลิตมากกว่าการเติบโตในระดับเลขสองหลัก หลายสิ่งจะได้รับการปรับปรุงยิ่งขึ้น ดังนั้นต้องสนับสนุนการทดลองและจัดการความคาดหวัง โดยเฉพาะภายนอกทีมงานด้านความปลอดภัย”

เทรนด์ 2: มาตรวัดที่ขับเคลื่อนด้วยผลลัพธ์ความมั่นคงไซเบอร์: เชื่อมช่องว่างการสื่อสารในทีมบริหาร

ความถี่และผลกระทบเชิงลบของเหตุความมั่นคงทางไซเบอร์ที่กระทบต่อองค์กรยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งบ่อนทำลายความเชื่อมั่นของกลยุทธ์ความมั่นคงทางไซเบอร์ของคณะกรรมการและทีมบริหาร โดยมาตรวัดที่ขับเคลื่อนด้วยผลลัพธ์ หรือ Outcome-Driven Metrics (ODMs) ได้ถูกนำมาใช้มากขึ้นเพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถขีดเส้นแบ่งการลงทุนด้านความมั่นคงไซเบอร์และมอบระดับการป้องกันที่ถูกสร้างขึ้น

การ์ทเนอร์ ระบุว่า ODMs เป็นศูนย์กลางในการสร้างกลยุทธ์การลงทุนด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ที่สามารถป้องกันได้ สะท้อนถึงระดับการป้องกันที่ผสมผสานคุณสมบัติที่มีประสิทธิภาพสูง และสามารถสื่อสารในภาษาที่เข้าใจได้ง่าย ๆ ที่ไม่ใช่ฝ่ายไอทีก็สามารถอธิบายได้ สิ่งนี้เป็นการแสดงออกถึงความเสี่ยงที่น่าเชื่อถือและป้องกันได้ ซึ่งสนับสนุนการลงทุนเพื่อเปลี่ยนแปลงระดับการป้องกันโดยตรง

เทรนด์ที่ 3: โปรแกรมวิเคราะห์พฤติกรรมและวัฒนธรรมความปลอดภัยกำลังได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดจากมนุษย์

ผู้บริหารด้านความปลอดภัยตระหนักดีว่าการเปลี่ยนโฟกัสจากการเพิ่มความตระหนักรู้ไปสู่การส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจะช่วยลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ในปี 2570 ครึ่งนึง (50%) ของ CISO ในองค์กรขนาดใหญ่จะนำแนวทางการออกแบบการรักษาความปลอดภัยที่คำนึงถึงผู้ใช้เป็นหลักมาใช้เพื่อลดความขัดแย้งที่เกิดจากความมั่นคงไซเบอร์ และเพิ่มการควบคุมมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยโปรแกรมวิเคราะห์พฤติกรรมและวัฒนธรรมด้านความปลอดภัย หรือ Security Behavior and Culture Programs (SBCPs) สามารถใช้วิเคราะห์และสรุปแนวทางทั่วทั้งองค์กรเพื่อลดเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมพนักงาน

“องค์กรธุรกิจที่ใช้ SBCPs จะได้รับประสบการณ์การยอมรับการควบคุมความปลอดภัยของพนักงานดีขึ้น ลดพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัย เพิ่มความรวดเร็วและความคล่องตัว และนำไปสู่การใช้ทรัพยากรความมั่นคงทางไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากพนักงานมีความสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับความเสี่ยงทางไซเบอร์อย่างอิสระ” แอดดิสคอตต์ กล่าวเพิ่ม

เทรนด์ที่ 4: การจัดการความเสี่ยงของบุคคลที่สามที่ขับเคลื่อนด้วยความยืดหยุ่นและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

เหตุการณ์ความมั่นคงไซเบอร์จากบุคคลที่สามเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และกำลังสร้างแรงกดดันให้ผู้บริหารหันมาให้ความสำคัญกับการลงทุนที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น และเลิกใช้แนวปฏิบัติสำหรับการตรวจสอบโดยละเอียดในด้านการลงทุน หรือ Front-Loaded Due Diligence การ์ทเนอร์แนะนำให้ผู้บริหารปรับปรุงการบริหารความเสี่ยงในบริการของบุคคลที่สาม และสร้างความสัมพันธ์ที่เป็นประโยชน์ร่วมกันกับพันธมิตรภายนอก เพื่อให้มั่นใจว่าทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดของพวกเขาได้รับการปกป้องอย่างต่อเนื่อง

“เริ่มด้วยการเสริมความแข็งแกร่งให้กับแผนฉุกเฉินสำหรับการมีส่วนร่วมของบุคคลที่สามที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านความมั่นคงทางไซเบอร์สูงสุด หรือสร้าง Playbooks สำหรับเหตุการณ์เฉพาะบุคคลที่สามพร้อมดำเนินการฝึกซ้อม และกำหนดกลยุทธ์ชัดเจนที่เกี่ยวข้องกับการเพิกถอนสิทธิ์ในการเข้าถึงและทำลายข้อมูลอย่างทันที” แอดดิสคอตต์ กล่าวเพิ่ม

เทรนด์ที่ 5: ใช้โปรแกรมจัดการความเสี่ยงจากภัยคุกคามต่อเนื่อง

Continuous Threat Exposure Management (CTEM) เป็นแนวทางปฏิบัติอย่างมีระบบที่องค์กรธุรกิจสามารถใช้ประเมินการเข้าถึง เปิดเผย และใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ดิจิทัลและสินทรัพย์ทางกายภาพอย่างต่อเนื่อง การจัดขอบเขตการประเมินและการแก้ไขให้สอดคล้องกับภัยคุกคามหรือโครงการทางธุรกิจในแบบเฉพาะ แทนที่จะเป็นองค์ประกอบโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเน้นย้ำถึงช่องโหว่และภัยคุกคามที่ไม่สามารถแก้ไขได้

ภายในปี 2569 การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านความปลอดภัยตามพื้นฐานของโปรแกรม CTEM จะพบการละเมิดลดลงถึงสองในสาม โดยผู้บริหารจะต้องตรวจสอบสภาพแวดล้อมดิจิทัลแบบไฮบริดอย่างต่อเนื่อง เพื่อสามารถระบุตัวตนได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และจัดลำดับความสำคัญของช่องโหว่ได้อย่างเหมาะสมที่สุด ช่วยรักษาพื้นผิวการโจมตีให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น

เทรนด์ที่ 6: การขยายบทบาทการจัดการการเข้าถึงและระบุตัวตน (Identity & Access Management หรือ IAM) เพื่อปรับปรุงผลลัพธ์ความมั่นคงทางไซเบอร์

เมื่อองค์กรหันมาใช้แนวทางการรักษาความปลอดภัยที่ให้ความสำคัญกับข้อมูลระบุตัวตนเป็นหลักมากขึ้น การมุ่งเน้นจะเปลี่ยนจากการรักษาความปลอดภัยเครือข่ายและการควบคุมแบบดั้งเดิมอื่น ๆ ไปสู่ Identity & Access Management (IAM) ทำให้มีความสำคัญต่อความมั่นคงทางไซเบอร์และผลลัพธ์ทางธุรกิจ ขณะที่การ์ทเนอร์เห็นบทบาทที่เพิ่มขึ้นสำหรับ IAM ในโปรแกรมความปลอดภัย แนวทางปฏิบัติจะต้องพัฒนาเพื่อมุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยขั้นพื้นฐานและเสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบเพื่อปรับปรุงความยืดหยุ่น

การ์ทเนอร์แนะนำให้ผู้บริหารมุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้างความแข็งแกร่งและใช้ประโยชน์จากโครงสร้างของข้อมูลระบุตัวตน และใช้ประโยชน์ของการตรวจจับภัยคุกคามรวมถึงการตอบสนอง เพื่อให้แน่ใจว่าความสามารถของ IAM อยู่ในจุดที่ดีที่สุด เพื่อรับมือกับขอบเขตการป้องกันของโปรแกรมความปลอดภัยโดยรวม