#ChooseToChallenge คุณกำหนดเอง

#ChooseToChallenge คุณกำหนดเอง

วันสตรีสากลปีวัวปีนี้ ธีมหลักสากลคือ #ChooseToChallenge น่าสนใจและทำให้นึกถึงบุคคลหลายๆ คนทั่วโลกที่กล้าที่จะ #ChooseToChallenge  เรามาลองดูว่าบุคคลเหล่านี้ เลือกที่จะทำอะไร เพื่ออะไร หรือใคร

อแมนดา กอร์แมน (Amanda Gorman) นักกวีผิวสีชาวอเมริกันที่อายุน้องที่สุด 22 ปี คือ กวีสาวที่ได้รับเชิญให้มาอ่านบทกวีในพิธีสาบานตนของประธานาธิบดีคนใหม่สหรัฐฯ ในพิธีสาบานตนของนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีคนที่ 46 ของสหรัฐอเมริกา  บทกวีของกอร์แมน ที่เธอนำมาอ่านในพิธีสาบานตนฯ มีชื่อว่า ‘The Hill We Climb’ (เนินเขาที่พวกเราปีนไต่) ซึ่งเธอต้องการให้เนื้อหาในบทกวีนี้ สร้างความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวและความร่วมแรงร่วมใจของชาวอเมริกัน ที่ได้แตกเป็นสองฝักสองฝ่ายในยุครัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์

ตอนยังเด็ก กอร์แมนเคยมีปัญหา ‘พูดติดอ่าง’ เหมือนกับประธานาธิบดีโจ ไบเดน ซึ่งทำให้เธอมุ่งมั่นที่จะเอาชนะมันให้ได้ ด้วยการเป็นนักแสดงและนักอ่านบทกวี  กอร์แมน ตกหลุมรักบทกวีตั้งแต่ยังเด็ก และมีชื่อเสียงอย่างรวดเร็วด้วยความสามารถในการประพันธ์บทกวี และเมื่ออายุเพียง 16 ปี กอร์แมนนักกวีรุ่นเยาว์ได้รับแต่งตั้งเป็น ‘Youth Poet Laureate of Los Angeles’ และไม่กี่ปีต่อมา เธอได้เข้าเรียนคณะสังคมวิทยาที่มหาวิทยาลัย Harvard และความสามารถที่โดดเด่นในการประพันธ์และอ่านบทกวีทำให้กอร์แมนได้รับเกียรติในตำแหน่ง ‘Nation Youth Poet Laureate’ ซึ่งเป็นคนแรกที่ได้รับตำแหน่งนี้

เกรตา ทุนเบิร์ก เยาวชนนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นที่รู้จักกันกว้างขวางด้วยอายุเพียง 17 ปี และถ้ามองย้อนหลัง เกรตาเริ่มเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมเมื่อเธออายุ 15 ปี เด็กหญิงอายุ 15 ปี ลุกขึ้นมารณรงค์ให้ทั่วโลกตระหนักถึงปัญหาโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  เกรตาเป็นผู้จุดประกายให้เยาวชนร่วมกันรณรงค์ต่อสู้เพื่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้การเคลื่อนไหวที่เรียกกันว่า “School Strike for the Climate Movement” และเดินทางเดินทางไปร่วมการรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมในหลายประเทศทั่วโลก โดยได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว เกรตาเลือกที่จะทำในสิ่งที่ท้าทายโลก เพราะปัญหาโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาระดับโลกที่ซับซ้อน ยุ่งยากและเกี่ยวกับทุกคนบนโลกใบนี้ แต่เกรตาก็เลือกที่จะท้าทายกับสิ่งนี้เพื่อมนุษยชาติในอนาคต

กมลา เทวี แฮร์ริส ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันและชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียคนแรกที่ได้รับเลือกให้เป็นรองประธานาธิบดีหญิงคนแรกของประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นสตรีคนที่สามที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้ท้าชิงตำแหน่งดังกล่าว ถัดจาก เจรัลดีน เฟอร์เรโร (ในการเลือกตั้งปี 1984) และแซราห์ เพลิน (ในการเลือกตั้งปี 2008) แฮร์ริส เกิดที่เมืองอ๊อกแลนด์ แคลิฟอร์เนีย เป็นบุตรของนายดอนัล เจ. แฮร์ริส นักเศรษฐศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดชาวจาเมกา-อเมริกัน กับนางชยมาลา โฆปาลัญ นักชีวการแพทย์ชาวอินเดีย-อเมริกัน

เส้นทางการเมืองของเธอเริ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2016 เธอได้รับชัยชนะเหนือลอเร็ตตา แซนเชซ ในการเลือกตั้งวุฒิสภาปี 2016 ส่งผลให้เป็นวุฒิสมาชิกสตรีคนที่สามจากรัฐแคลิฟอร์เนีย, สตรีเชื้อสายแอฟริกันคนที่สอง และสตรีเชื้อสายเอเชียคนแรกที่จะได้ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐฯ  ในฐานะสมาชิกวุฒิสภา เธอสนับสนุนการปฏิรูประบบบริการสุขภาพ การยกเลิกสถานะยาเสพติดของกัญชาในระดับประเทศ การช่วยเหลือให้ผู้อพยพที่ไม่มีเอกสารได้รับสถานะพลเมืองสหรัฐ รัฐบัญญัติดรีม การห้ามใช้อาวุธสังหาร และการปฏิวัติการเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า ความท้าทายของแฮร์ริสในบทบาทของรองประธานาธิบดีหญิงผิวสีคนแรกเริ่มขึ้นแล้ว

ขอบคุณรูปภาพจาก

freepik

glamour.com

mthai.com

prachatai.com